top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

โอกาสของ SME กับกวางตุ้งโมเดล เปิดกว้างการลงทุนในภาคเอกชน



ปัจจุบัน มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง ถูกจัดให้เป็นเป้าหมายใหญ่อันดับต้นๆสำหรับธุรกิจทั่วโลกที่ต้องการเข้ามาเจาะตลาดในจีน ด้วยความที่เป็นเมืองสำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบ Logistics ที่เชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นโดยเฉพาะที่อาเซียน และยังเป็นมณฑลทางเศรษฐกิจที่มีความเจริญและอัตราการเติบโตสูงแถวหน้าของจีนด้วย
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กวางตุ้งเป็นแหล่งที่น่าสนใจ ก็มาจากนโยบายของภาครัฐจีนที่ส่งเสริมและผลักดันให้มณฑลนี้เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมักเรียกแนวทางนี้กันว่า “กวางตุ้งโมเดล”
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ส่วนหนึ่งคงต้องให้เครดิตกับผู้บริหารสูงสุดของกวางตุ้งคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการผลักดันรูปแบบการพัฒนามณฑลแห่งนี้โดยให้ความสำคัญกับภาคเอกชนและเปิดกว้างกับการลงทุนจากต่างชาติเป็นพิเศษ เขาผู้นั้นก็คือ หวางหยาง ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้งในระหว่างปี ค.ศ. 2007-2012

สำหรับรูปแบบการพัฒนาของมณฑลกวางตุ้ง ในฐานะมณฑลทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนนั้นนับว่าน่าสนใจมาก เพราะค่อนข้างสวนทางกับแนวนโยบายแบบสังคมนิยมของจีนในอดีต แล้วยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่เริ่มมีการส่งเสริมตั้งแต่ช่วงปลายยุคของเติ้งเสี่ยวผิงอีกด้วย

ก่อนอื่นมาดูแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของกวางตุ้งโมเดลกันหน่อย ซึ่งถ้าให้อธิบายสั้นๆแล้วเข้าถึงแก่นนั่นก็คือ “การส่งเสริมธุรกิจ SME และภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม”

ในช่วงที่หวางหยางเป็นผู้บริหารนั้น ได้มีความพยายามที่จะโยกย้ายโรงงานที่ต้องใช้แรงงานที่เข้มข้นแต่มีระดับของเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำให้ออกไปยังพื้นที่ส่วนอื่นๆ แล้วหันมาส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีเงินทุนเข้มข้นและใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาแทนที่ รวมถึงเน้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจตามกลไกตลาดแบบทุนนิยม เป้าหมายก็คือต้องการเพิ่มและขยายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สามารถวัดและประเมินผลได้ชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีการบังคับนโยบายทะเบียนครัวเรือนอย่างเข้มงวด ด้วยการห้ามไม่ให้คนจากต่างถิ่นเข้ามาทำงาน เพื่อป้องกันปัญหาแรงงานราคาถูกด้อยคุณภาพ แต่ก็มีข้อด้อยคือ จะไม่มุ่งเน้นระบบสวัสดิการจากภาครัฐ เพราะหันไปส่งเสริมการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตไปแล้ว


แต่ในขณะเดียวกัน ก็อนุญาตให้มีการรวมกลุ่มของชนชั้นแรงงานเพื่อเรียกร้องสิทธิและสามารถต่อรองค่าจ้างได้ด้วย เหมือนกับเป็นสหภาพแรงงานในโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมีการผ่อนปรนและคลายความตึงเครียดในทางการเมือง มีการอนุญาตให้กลุ่ม NGO และเครือข่ายภาคประชาชนทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้ในระดับหนึ่ง แนวคิดนี้จึงเป็นการมอบเรื่องสวัสดิการสังคมให้เป็นพื้นที่ของประชาชน ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น

แนวทางเหล่านี้ค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับรูปแบบของมณฑลอื่นบางแห่งในจีน ที่มุ่งเน้นการบริหารแบบอนุรักษ์นิยมและสังคมนิยม ที่ยังให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนสำคัญในเรื่องสวัสดิการสังคม การควบคุมกิจการและอื่นๆ

รูปแบบของกวางตุ้งโมเดล ดูจะได้รับความนิยมในกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มเสรีนิยมในจีนค่อนข้างมาก เพราะเป็นการลดบทบาทการควบคุมจากภาครัฐ ส่งเสริมกลไกตลาด และการแข่งขันของภาคเอกชนซึ่งเหมือนกับแนวทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งทุกวันนี้ก็ดูเหมือนจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในจีนกับแนวทางสังคมนิยมที่ภาครัฐยังเข้าไปมีส่วนในการควบคุมค่อนข้างมากในบางมณฑลและบางเมืองใหญ่ๆ

ในปี 2017 ที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งมีระดับของ GDP อยู่ที่ 8.9 ล้านล้านหยวน ซึ่งถือว่าเป็นอันดับ 1 สูงที่สุดของจีน

#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#

ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ “ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่

หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ

“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่

ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่

ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ


Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page