รู้จักกับ Yunji อี คอมเมิร์ซ เจ้าใหญ่อีกแห่งของจีนที่กำลังเข้าสู่ตลาดหุ้น
ชื่อของ Yunji อาจไม่เป็นที่คุ้นหูมากนัก แต่เขาคือหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซของประเทศจีน ล่าสุดได้ก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งสามารถรวบรวมทุนได้สูงถึง 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เรื่องนี้น่าสนใจและอยากบอกเล่าให้ทุก ๆ คนได้รู้จักกัน
Yunji คือใคร? ทำธุรกิจประเภทไหน?
หากนึกภาพง่าย ๆ ก็มีความใกล้เคียงกับ Pinduoduo เท่ากับว่า Yunji คือบริษัทอี-คอมเมิร์ซที่อาศัยช่องทาง WeChat เป็นส่วนใหญ่ในการสร้างยอดขาย แต่ความต่างจาก Pinduoduo คือ Yunji มีการใช้เครือข่ายกระจายอำนาจในระบบ “สมาชิก” ในการขายสินค้า ซึ่งขั้นตอนเบื้องต้นคือ
- สมัครสมาชิก
- เข้าแพลตฟอร์มพร้อมรับข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ เช่น ส่วนลด, วิธีเปิดร้าน ฯลฯ
- สมาชิกโปรโมทสินค้า (ส่วนใหญ่ผ่าน WeChat) กับคนอื่น ๆ
- หากขายสินค้าหรือมีสมาชิกในทีมเพิ่มจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ (ไม่ใช่เงินสด แต่มักเป็นส่วนลดในอนาคต)
- สมาชิกทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย ส่วน Yunji จะจัดการด้านโลจิสติกส์, ไอที, ลูกค้าสัมพันธ์
จากโมเดลที่ว่ามาส่งผลให้ Yunji กำลังถูกตรวจสอบจากทางการจีน เพราะมีข้อสงสัยว่าอาจดำเนินการในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ โดยตอนปี 2017 พวกเขาถูกปรับเป็นเงิน 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในกรณีบริหารแบบแชร์ลูกโซ่
เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับเพิ่มหรือโดนปิดกิจการ จึงเป็นสาเหตุที่พวกเขาไม่ให้รางวัลกับสมาชิกเป็นเงินสดแต่ได้รับส่วนลดแทน อย่างไรก็ตามมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาชัดเจนมาก ๆ นั่นคือ ยอดขายที่สูงมาก เนื่องจากระบบของแชร์ลูกโซ่จะมีแนวทางชัดเจนนั่นคือสมาชิกขายให้กับสมาชิกคนอื่น แต่ไม่มีการขายจริง ๆ เกิดขึ้น ทว่าปริมาณสินค้ารวม GMV ดันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
จากการยื่นเพื่อเสนอขายหุ้นของ Yunji พบว่า 66.4% ของ GMV มาจากสมาชิก แต่ไม่มีใครตอบได้ว่าเป็นการซื้อสินค้าจริงมากน้อยแค่ไหน เพราะคนที่ซื้อสินค้าส่วนใหญ่ต้องการเป็นสมาชิก
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2018 พวกเขามีสมาชิกรวม 7.4 ล้านคน ซึ่ง 6.1 ล้านคน เป็นสมาชิกที่ดำเนินกิจกรรมให้กับองค์กรจริง
การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Yunji
จากที่กล่าวมาเห็นชัดมากว่า Yunji มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในเชิงรายได้ ปัจจัยหลักมาจากการขาย (JD.com, Yunji คือ ผู้ค้าปลีกและมีรายได้โดยตรงจากการขาย)
ซึ่งตัวขับเคลื่อนหลักในเชิงรายได้ของ Yunji คือ ค่าธรรมเนียมที่สมาชิกมีการจ่ายเพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์มและส่วนลด
Yunji VS Pinduoduo
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อนึกถึง Yunji ก็ต้องมี Pinduoduo ที่ตีคู่กันมา เพราะพวกเขาต่างเป็นบริษัทอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ในประเทศจีน โดย Pinduoduo เปิดตัวมาพร้อม ๆ กับ Yunji เมื่อปี 2015 และได้เข้าสู่ตลาดหุ้นเมื่อปีก่อน
ทว่าสิ่งที่แตกต่างกันอย่างน่าตกใจคือ แม้ Pinduoduo จะมี GMV สูงกกว่าเกือบ 20 เท่า เมื่อปี 2018 ทว่ารายได้กลับใกล้เคียง Yunji มาก แถมยังห่างไกลจากการทำกำไร (ปี 2018 ขาดทุน 10 พันล้านหยวน) ส่วน Yunji อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เกือบทำกำไรได้
อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดบางข้อ เพราะสถานะของ Yunji เป็นผู้ค้าปลีกจึงระบุไปว่า GMV จำนวนมากนั้นคือรายได้ ในทางปฏิบัติรายได้อาจอยู่ที่ 11.3 พันล้านหยวน ซึ่งพวกเขามีต้นทุนรายได้ 10.7 พันล้านหยวน และค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติงาน 1.2 พันล้านหยวน ดังนั้นความจริงที่เกิดขึ้น Yunji ก็ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากระบบขายตรง และลดต้นทุนลงด้วยบริการสมาชิก ถ้าเราลองดูรายละเอียดด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 บริษัท Pinduoduo จะเน้นลงทุนเพื่อการเติบโตของ GMV ส่วนโมเดลของ Yunji จะเน้นเรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการธุรกิจของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ต้นทุน 91% ของ Yunji จะทุ่มไปกับการสร้างบริการด้าน Fulfillment มากกว่า
สรุปแนวคิด
ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วใสเชิงรายได้และสมาชิกของ Yunji พวกเขาจึงจำเป็นต้องก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามด้วยความไม่แน่นอนจากโมเดลการเติบโตก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะช่วยทำกำไรให้จริงไหม ยอดขายผ่านแพลตฟอร์มปกติอยู่ที่เท่าไหร่ มากไปกว่านั้นทางบริษัทกำลังดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งตรงนี้นับเป็นอีกความเสี่ยงอย่างมากกับการโดนปรับหรือสั่งให้ปิดกิจการ ต้องรอดูต่อไปว่าหุ้นของ Yunji จะได้รับความนิยมมากขนาดไหนในหมู่นักลงทุนที่อยากพบเจอกับหุ้นเจ้าใหม่ ๆ
Comentários