top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

เปิดเหตุผลหลักที่ทำให้ Linkedln กำลังติดตลาดในเมืองจีน


อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าในประเทศจีนจะมีความเคร่งในเรื่องของสื่อสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก บรรดา Social Media ที่คนไทยใช้งานกันแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter ไม่สามารถเข้าไปย่างกรายในแผ่ดินใหญ่แห่งนี้ได้เลย เพราะรัฐบาลจีนเชื่อว่าอาจส่งผลถึงภัยความมั่นคงของชาติ ประกอบกับเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาโดยคนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งในด้านความยิ่งใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตามกลับมีแพลตฟอร์ม 1 ตัวในชื่อ Linkedln กำลังไปได้สวยในประเทศจีนจนทำเอาคนทั้งโลกเกิดความสงสัย

เรื่องนี้น่าสนใจและอยากนำมาเล่าสู่กันฟังเพราะมันบ่งบอกว่าจริง ๆ แล้วการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีนมันไม่ได้มีแค่เรื่องของกฎหมายที่ต้องเคร่งครัดอย่างเดียว แต่ถ้าหากสินค้า / บริการคุณมีความสามารถมากพอและเข้าตามตรอกออกตามประตู การจะไปเปิดตลาดในประเทศนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก


ทำได้จริง Linkedln เปิดตลาดเมืองจีนสำเร็จ

Linkedln ถือเป็นหนึ่งในบริษัท Social Media ของสหรัฐฯ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถบุกเจาะตลาดจีนได้สำเร็จโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานของคนในประเทศนี้มีบัญชีเยอะถึง 41 ล้านบัญชี อย่างไรก็ตามผู้ใช้เหล่านี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งผ่านการเซนเซอร์เอาไว้หมดแล้ว การเปิดเข้าดำเนินการในประเทศจีนของ Linkedln ส่งผลให้เกิดเสียงฮือฮา แต่ทั้งนี้ก็มีผู้เชี่ยวชาญและนักเคลื่อนไหวชาวจีนที่อาศัยในสหรัฐฯ ออกมาโต้แย้งในบางด้าน ทว่านั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะสิ่งที่อยากพูดถึงคือ เหตุผลที่ Linkedln สามารถตีตลาด Social Media ในประเทศจีนได้สำเร็จทั้ง ๆ ที่หากมองภาพรวมทั่วโลกคนน่าจะใช้งาน Facebook มากเป็นอันดับ 1


เหตุผลสำคัญที่ทำให้ Linkedln ติดตลาดในเมืองจีน

มีปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 2 ประเด็นที่บ่งบอกถึงสาเหตุสำคัญในการทำให้ Linkedln กำลังประสบความสำเร็จในเมืองจีน ลองมาไล่เรียงกันดูสักหน่อย


ผู้ชนะซึ่งหาได้ยากยิ่ง

รัฐบาลของจีนได้มีการบล็อกบรรดาเว็บไซต์ Social Media หลาย ๆ เจ้าไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter ทว่า Linkedln ซึ่งมีเจ้าของคือ Microsoft กลับกำลังเติบโตขึ้นในประเทศจีน สาเหตุหลัก ๆ มาจากพวกเขาเองปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่นอย่าง China Broadband Capital และ Sequoia China พร้อมกับเปิดตัวเว็บไซต์ในภาษาจีนที่ชื่อ Lingying มีความหมายคือ “ชนชั้นนำ” เว็บดังกล่าวมักมีการลบโพสต์และหน้าโปรไฟล์ที่ทางรัฐบาลจีนมองว่ามีความอ่อนไหวด้านการเมือง อาทิ เรื่องราวในเชิงลบของจัตุรัสเทียนอันเหมิน

การเล่นตามกฎดังกล่าวได้รับผลตอบแทนอันแสนคุ้มค่าเพราะจำนวนผู้ใช้งาน Linkedln ของจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เดิมทีตอนปี 2014 มีบัญชีเพียง 4 ล้านราย ทว่าในปัจจุบันกลับสูงกว่า 41 ล้านราย ทั้งนี้ทาง Linkedln ยังได้มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าวผ่าน Weibo เมื่อตอนเดือนพฤษภาคม ปี 2018 โดยจำนวนผู้ใช้งานในจีนเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ แล้วถือว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะมีบัญชีผู้ใช้ Linkedln ในสหรัฐฯ กว่า 154 ล้านราย แต่นั่นแสดงให้เห็นว่าการตีตลาดไปถึงประเทศจีนเป็นผลสำเร็จ

เนื้อหาส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมจากคนจีนจะเป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในต่างประเทศไม่ว่าจะหางานหรือการติดต่อเพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ อีกทั้งในช่วงหลายปีมานี้ Linkedln ได้จับมือกับเมืองปักกิ่งเพื่อนำเอาความรู้ความสามารถต่าง ๆ เข้ามายังเมืองแห่งนี้ พร้อมมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายเยาวชนเพื่อสำรวจด้านความสนใจในอาชีพของนักศึกษา


ราคาแห่งความสำเร็จ

Jeff Weiner ซีอีโอใหญ่ของ Linkedln ได้เคยกล่าวเอาไว้ตอนปี 2014 ในเรื่องการยอมรับข้อเรียกร้องด้านเซนเซอร์ ซึ่งทางตัวแพลตฟอร์มเองจะทำให้คนจีนได้ตระหนักถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ ความฝัน และสิทธิ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาพึงมี แม้ว่าบริษัทด้านไอทีหลายแห่งของสหรัฐฯ ต้องพบเจอกับแรงกดดันมากมายของรัฐบาลจีนกับความพยายามที่จะเข้าไปทำธุรกิจ ทว่า Linkedln กลับใช้ประโยชน์จากเรื่องกฎหมายเหล่านี้และทำให้พวกเขากำลังก้าวไปได้สวยในกลุ่มคนจีน


สรุปแนวคิด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Linkedln มีผลในเชิงบวกจากประเทศจีนแม้เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนามาจากสหรัฐฯ คู่แข่งด้านเศรษฐกิจสำคัญ คือ การที่ Linkedln ยอมอ่อนข้อให้กับกฎหมายซึ่งรัฐบาลจีนเน้นย้ำเป็นเรื่องสำคัญสุด เมื่อพวกเขายอมรับได้ ทางรัฐบาลเองก็ไม่มีปัญหาในการเข้ามาทำการค้า คราวนี้เมื่อมองมายังธุรกิจในเมืองไทยหลายแห่ง บางครั้งอาจไม่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มออนไลน์หรือระบบไอทีเสมอไป ทว่ามันต้องทำความเข้าใจถึงประเทศนี้โดยตรง ปฏิบัติตามกฎของประเทศอย่างเคร่งครัด หากทำได้เมื่อไหร่จะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าไปทำธุรกิจ และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง


ที่มา : inkstonenews

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page