top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

ตามคาด! 4 เดือนแรก ยอดขายปลีกหน้าร้านจีนลดลง สวนทางยอดขายออนไลน์


ถือว่าไม่ค่อยพลิกโผเท่าไหร่กับการสรุปยอดขายสินค้าออกมาในช่วง 4 เดือนแรกของประเทศจีน โดยยอดขายปลีกหน้าร้านลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 16% แต่ในทางตรงกันข้ามยอดขายผ่านโลกออนไลน์กลับพุ่งสูงขึ้น 1.7% ซึ่งมันก็ตามกับคาดการณ์ที่หลาย ๆ ฝ่ายมองเอาไว้ ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ประกอบกับมาตรการล็อกดาวน์ในหลาย ๆ เมือง

แต่ถ้ามองดูดี ๆ เรื่องนี้มีบางอย่างที่ซับซ้อนมากกว่านั้นและอาจเป็นไปได้ว่าอนาคตการขายปลีกหน้าร้านของจีนคงต้องปรับกลยุทธ์หากยังคิดจะเป็นช่องทางการทำยอดขายอันดับ 1 เรื่องนี้เราอยากจะเล่าให้ฟัง

ภาพรวมยอดขาย 4 เดือนแรกของปี 2020 ในประเทศจีน

ก่อนอื่นลองมาดูภาพรวมกว้าง ๆ เกี่ยวกับการขายสินค้า / บริการในประเทศจีนช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 กันหน่อย


ยอดขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนในช่วง 4 เดือนแรกนี้มีมูลค่ารวม 2,817.8 พันล้านหยวน (ราว ๆ 398.10 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งคิดล่าสุดจนถึงเดือนเมษายน ลดลงประมาณ 7.5% หากเทียบแบบปีต่อปี (แต่ตัวเลขที่ลดลงจริงคือ 9.1% หลังหักปัจจัยด้านราคา และการเติบโตที่มีเพียงเล็กน้อย ไม่นับรวมกับสินค้าแนะนำพิเศษต่าง ๆ) ยังดีว่าในเดือนเมษายนนี้ยอดขายกระเตื้องขึ้นมาจากเดือนมีนาคมราว ๆ 8.3%

สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศจีน ได้มีการออกมาเปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งไม่รวมกับรถยนต์มีมูลค่าอยู่ราว 2,509.5 พันล้านหยวน ในเดือนเมษายน ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลก่อนหน้าว่ากระเตื้องขึ้นกว่าเดือนก่อน 8.3%

ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 ยอดค้าปลีกรวมสินค้าอุปโภคบริโภคประเทศจีนมีราว 10,675.8 พันล้านหยวน (ราว 1,508.28 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งลดลง 16.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 9,735.7 พันล้านหยวน ไม่รวมยอดขายรถยนต์ที่ลดลง 15.5%

ยอดขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในเขตเมืองอยู่ที่ 2,455.8 พันล้านหยวน (ราว 346.96 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ) ในเดือนเมษายน 2020 ลดลง 7.5% หากเทียบแบบปีต่อปี แต่ก็ยังกระเตื้องขึ้นมากกว่าเดือนก่อนหน้าราว ๆ 8.4%

ขณะที่ยอดขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในต่างจังหวัดมีมูลค่ารวมประมาณ 362 พันล้านหยวน (ราว 51.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลง 7.7% แต่ก็ดีกว่าเดือนก่อนหน้าถึง 7.4% ด้วยเช่นกัน


ยอดขายปลีกของสินค้าจำเป็น

หากแบ่งประเภทสินค้า บรรดาของใช้ส่วนตัวมียอดรวมของการขายปลีกถึง 2,587.1 พันล้านหยวน แต่ก็ยังลดลง 4.6% ทว่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าก็มีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นราว ๆ 7.4%

รายได้จากบรรดาธุรกิจร้านอาหาร รับจัดเลี้ยงต่าง ๆ อยู่ที่ 230.7 พันล้านหยวน ลดลง 31.1% หากเทียบแบบปีต่อปี แต่ก็ยังกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 15.7%


ช่องทางการขายสินค้าที่กำลังเปลี่ยนไป

จากยอดที่กล่าวมานั้นในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 ยอดขายปลีกหน้าร้านของสินค้าของใช้ส่วนตัวอยู่ที่ 9,842.5 พันล้านหยวน ลดลงประมาณ 13.1% ส่วนรายได้ของธุรกิจอาหาร รับจัดเลี้ยงแบบหน้าร้านอยู่ที่ราว ๆ 833.3 พันล้านหยวน ลดลง 41.2% หากเทียบแบบปีต่อปี

ในทางกลับกันตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2020 ยอดการขายปลีกบนโลกออนไลน์ของจีนมีมูลค่าสูงถึง 3,069.8 พันล้านหยวน (ราว 433.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.7% หากเทียบกับปีที่แล้วในช่วงไตรมาสแรก

ยอดขายปลีกทางออนไลน์ของสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวมีมูลค่ารวมราว 2,575.1 พันล้านหยวน (363.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้น 8.6% และคิดเป็น 24.1% ของยอดรวมการค้าปลีกทั้งหมดของสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศจีน

ทั้งนี้แบ่งเป็นยอดขายปลีกสินค้าผ่านโลกออนไลน์ประเภทของใช้ส่วนตัวและอาหารเพิ่มขึ้น 36.7% ของใช้ภายในบ้านเพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนสินค้าประเภทเสื้อผ้าลดลง 12%


สรุปแนวคิด

แน่นอนว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปตอนนี้คือ ช่องทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศจีน ลำพังคนยุคใหม่จำนวนมากก็มักเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่ว ๆ ไป เช่น ของใช้ส่วนตัว ของใช้ภายในบ้านผ่านโลกออนไลน์กันมากขึ้นแล้ว เมื่อบวกรวมกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงไม่แปลกใจว่ายอดขายหน้าร้านจะเทียบกับยอดขายออนไลน์ไม่ได้

แต่สิ่งที่อยากนำเสนอให้เห็นภาพคือ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องรีบมีการปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ให้เร็วที่สุดหลังหมดจากช่วงเวลาการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายตัวนี้ แถมเอาจริง ๆ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะหมดไปเมื่อไหร่ แม้แต่ธุรกิจค้าปลีกทั่ว ๆ ไปที่มองว่ายังไงคนก็ยังเดินออกมาซื้อที่ร้านสะดวกซื้อหน้าบ้าน ออกไปซื้อตามห้างสรรพสินค้าได้ แต่ถ้าหากเขามีทางเลือกที่สะดวกกว่า ประกอบกับสินค้าเหล่านี้หากใช้เป็นประจำก็ไม่ได้ต้องเลือกสรรอะไรมาก

แม้จะมีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากราคามันไม่ได้แพงจนเกินไปผู้บริโภคก็ยินดีที่จะจ่ายเงินไปก่อนแล้วค่อยนำมาทดลองใช้ หากไม่ดีก็ไม่ใช่ต่อ หรือบางคนอาจลองไปซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตามร้านค้าปลีกครั้งแรก หากใช้แล้วดีก็จะซื้อออนไลน์ในครั้งต่อ ๆ ไป

นั่นคือสิ่งที่โยงมาถึงธุรกิจในเมืองไทย ตอนนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่สามารถปรับตัวสู่โลกออนไลน์ได้ และควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะแพลตฟอร์มและการใช้ชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภคทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

ที่มา : chinainternetwatch


========================================= #คิดถึงการตลาดจีน#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand# ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ “ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่ https://www.levelupthailand.com/single-post/chinamarketing-checklist-full หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ “บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่ https://www.levelupthailand.com/single-post/การตลาดออนไลน์จีน ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่ www.levelupthailand.com/sme2 ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page