พิษโควิด-19 ราคาหน้าโรงงานในจีนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภายนอก
แม้ภาคส่วนอื่น ๆ จะเริ่มคลี่คลายลงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่สำหรับบรรดาผู้ผลิตของจีนหลายรายยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายจากหน้าโรงงานมีการปรับตัวลดลงอีกในเดือนเมษายนที่ผ่านมาตามดัชนีราคาผู้ผลิต
ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าราคาขายที่ทางโรงงานขายให้กับบรรดาผู้ค้าส่งสำหรับสินค้าของพวกเขามีอัตราลดลงถึง 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นรายงานจากสำนักสถิติแห่งชาติ ความรุนแรงยิ่งกว่าคือราคาหน้าโรงงานยังลดต่ำกว่าช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประมาณ 1.5% ทั้งนี้มีการคาดการณ์จากบรรดานักวิเคราะห์ของ Bloomberg เชื่อว่ายังมีโอกาสหดตัวลงได้อีก 2.5%
นับเป็นช่วงเวลาตกต่ำของราคาสินค้าหน้าโรงงานมากที่สุดในเมืองจีนนับตั้งแต่ที่พวกเขาเคยติดลบถึง 3.4% เมื่อตอนเดือนเมษายน ปี 2016
ราคาขายหน้าโรงงานในจีนตกต่ำกว่าที่คิด
ตรงนี้มันแสดงให้เห็นถึงแรงกดดันที่ได้รับจากบรรดาตลาดทั้งในและต่างประเทศส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตของประเทศจีนไม่สามารถใช้ราคาตามความเหมาะสมได้อย่างที่ใจต้องการกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง
นับว่านี่เป็นเรื่องราวน่าสนใจมาก ๆ เพราะถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ ธุรกิจผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ของจีนจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังแน่นอน เราจะเล่าให้ฟังว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศจีนเพิ่มขึ้น 3.3% จากปีก่อน แต่มันกลับชะลอตัวลงจากเดิมที่เคยเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 4.3% ในเดือนมีนาคม บรรดานักวิเคราะห์ของ Bloomberg จากสิ่งเหล่านี้ทำให้จีนเกิดอัตราเงินเฟ้อที่ 3.7% ซึ่งจะถือเป็นอัตราเงินเฟ้อรายเดือนที่ต่ำมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ในอัตรา 3.8%
อัตราของดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกิดความต้องการซื้อสินค้าน้อยลงจนเห็นได้ชัดในระบบเศรษฐกิจของจีน อย่างไรก็ตามบรรดานักกำหนดนโยบายทั้งหลายก็คาดหวังการทำอุปสงค์ในประเทศจะพัฒนาขึ้นไปมากกว่านี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้จีนหลุดพ้นจากระบบเศรษฐกิจที่สั่งคลอน และต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาราคาขายปลีกให้กับผู้บริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งประกอบกับมีข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมูที่เกิดจากปะเทศในแอฟริกา จึงทำให้ราคาเนื้อหมูแพงขึ้นอย่างน่าตกใจมากจริง ๆ คิดเฉลี่ยเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 96.9% คราวนี้พอลองมาเทียบเป็นรายปีจากเดือนที่แล้วถือว่าลดลงมาเล็กน้อย (เดือนมีนาคม) เพราะเดือนนั้นเฟ้อสูงถึง 116.4% และทำสถิติสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 135.2% ส่งผลให้ราคาอาหารโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 14.8% หากเทียบกับปีที่แล้ว
แท้จริงยังไม่ได้แย่ถึงขนาดเกิดความเสียหาย
จากแนวโน้มที่อาจดูลดลงบ้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ๆ แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่ได้รวมค่าอาหารและพลังงานปรับลดลงเล็กน้อย แต่ทางที่ดีอัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ด้านนี้ก็ควรลดลงตามไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุล
อย่างไรก็ตามแม้ราคาขายหน้าโรงงานจะปรับตัวลดลง แต่ยังถือว่าโชคดีที่มีแรงหนุนจากบรรดาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาลดลง 11.6% และ วัตถุดิบลดลง 8.8% จึงสิ่งเหล่านี้จึงบ่งบอกได้ในระดับหนึ่งว่าแม้ราคาขายหน้าโรงงานจะต่ำแต่ต้นทุนพวกเขาก็ลดลงตามไปด้วยเหมือนกัน
สรุปแนวคิด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายให้กับทุกภาคส่วนเป็นลูกโซ่ชนิดที่ทุกคนเจ็บตัวเหมือนกันหมด จะหนักหรือเบาเท่านั้นเอง แต่เหนือสิ่งอื่นใดการวางแผนระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ พร้อมกันนี้ต้องใช้แนวคิดปรับตัวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการบริหารธุรกิจในช่วงเวลาที่กำลังวิกฤติ
ถ้ามองภาพเล็ก ๆ ตอนนี้บรรดาผู้ผลิตในจีนได้รับผลกระทบที่ยอดขายลดลง แต่วัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพวกเขาก็ลดตามไปด้วย ดังนั้นหากบริหารต้นทุนดี ๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะยังคงเดินหน้าต่อไปได้แม้จะไม่ได้สร้างกำไรมหาศาลเหมือนกับที่ผ่าน ๆ มา
ซึ่งพอมองย้อนกลับมาที่ธุรกิจของคนไทยหากต้องการนำไปวางขายโดยมองกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนในประเทศจีน ไม่ใช่ช่วงเวลาที่น่ากลัว ใครเคยขายอยู่แล้วยอดขายอาจลดลงก็เป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ใช่แค่ในจีนแต่เป็นกันทั่วโลก แม้กำลังการซื้อของคนจีนในช่วงนี้ยังอ่อนตัวแต่ในอนาคตหากทุกอย่างกลับมาเป็นปกติเชื่อว่านี่จะยังคงเป็นตลาดเป้าหมายอันดับ 1 ของคนทั้งโลกแน่นอน
ที่มา : scmp.com
=========================================
#คิดถึงการตลาดจีน#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand# ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ “ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่ https://www.levelupthailand.com/single-post/chinamarketing-checklist-full หรือ
อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ “บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่ https://www.levelupthailand.com/single-post/การตลาดออนไลน์จีน
ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่ www.levelupthailand.com/sme2 ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ
Comments