top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

ธุรกิจต้องรู้ จีนปฏิรูประบบภาษีใหม่ทั้งกลุ่มคลังสินค้าทัณฑ์บนและอี-คอมเมิร์ซ การค้าข้ามพรมแดน


ในอดีตพื้นฐานโครงสร้างระบบโลจิสติกส์ของจีนเองยังถือว่าไม่พัฒนาเท่าไหร่นัก ส่งผลให้มีธุรกิจต่างชาติจำนวนมากสนใจเข้ามาลงทุนและค้าขายในประเทศพวกเขา ทว่าเมื่อการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแผนเศรษฐกิจ 5 ปีของรัฐบาล ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนากว่าเดิม ด้านโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ทันสมัยขึ้น ไม่นับรวมสนามบินอีก 230 แห่ง และเส้นทางรถไฟความเร็วสูง


โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของจีน

ธุรกิจต่างแดนต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคชาวจีนเริ่มคุ้นเคยพร้อมคาดหวังในการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ โดยเฉพาะซีกตะวันออกของประเทศที่มีกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์รวมตัวกันหนาแน่นตามเมืองใหญ่ ส่งผลให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับตัวพร้อมสร้างแนวทางในการจัดส่งภายใน 24 ชม. มากขึ้น

การรับ-ส่งสินค้าจากจุด A ไปจุด B ในประเทศจีนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่ความท้าทายมากกว่าคือการมองหาช่องทางโลจิสติสก์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน


อี-คอมเมิร์ซ การค้าข้ามพรมแดน และคลังสินค้าทัณฑ์บน

ด้วยแนวโน้มของอี-คอมเมิร์ซในประเทศจีนมีแนวโน้มเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีช่องทางโลจิสติกส์ที่ซับซ้อนกว่าในอดีต ทั้งพิธีการทางศุลกากรและกฎระเบียบการนำเข้า แม้จะบอกว่าการนำสินค้าจากจุด A ไปจุด B ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ด้วยต้องมีการจดทะเบียนอนุญาตนำเข้า และการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ นี่จึงไม่ใช่เรื่องง่ายดังเดิม

ระบบอี-คอมเมิร์ซแบบการค้าข้ามพรมแดนเริ่มต้นจากการขายสินค้าของชาวจีนที่อยู่ต่างประเทศ มีการเสนอขายผ่าน Taobao เมื่อมีการสั่งก็มักใช้วิธีขนส่งเข้าไปแบบไม่ถูกกฎหมายเท่าไหร่นัก รัฐบาลจีนจึงได้กำหนดเมืองนำร่องให้ครอบคลุมสำหรับการค้าอี-คอมเมิร์ซแบบข้ามพรมแดนในปี 2012 ซึ่งพื้นที่นำร่องส่วนใหญ่มักอยู่ตามท่าเรือการค้าขนาดใหญ่ มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการทำธุรกิจและมีโครงสร้างพื้นฐานด้านอี-คอมเมิร์ซที่ไปได้สวย นั่นจึงเป็นที่มาของการเลือกคลังสินค้าทัณฑ์บนเป็นโซนนำร่องหลัก

จนถึงตอนนี้จีนมีการกำหนดโซนนำร่องของกลุ่มอี-คอมเมิร์ซแบบข้ามพรมแดน 12 โซน ซึ่งอาจมีข้อแตกต่างบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในด้านกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือเป็นกลุ่มธุรกิจเฉพาะ


การปฏิรูปภาษีอี-คอมเมิร์ซของสินค้าข้ามพรมแดน

ระบบอี-คอมเมิร์ซการค้าข้ามพรมแดน ได้ถูกยกให้เป็นช่องทางนำเข้าพิเศษ สร้างขึ้นผ่านการจัดตั้งเขตนำร่องหลายแห่งของฝ่ายบริหารของกรมศุลกากรเมื่อปี 2014 กระทั่งวันที่ 8 เมษายน 2016 ก็ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการคลังให้มีการเปลี่ยนแปลง

ก่อนการแก้ไข หากซื้อสินค้าผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนในกลุ่ม “ของใช้ส่วนตัว” ต้องเสียภาษีสินค้าส่วนบุคคล แต่ภาษีดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นเมื่อซื้อสินค้ามากกว่า 50 หยวน

กระทั่งวันที่ 24 มีนาคม 2016 มีการออกนโยบายภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าปลีกผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน นับตั้งวันนั้นเป็นต้นมาผู้บริโภคที่ซื้อผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซต้องเสียภาษีนำเข้า, ภาษีศุลกากร, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีการบริโภค เนื่องจากทางกรมศุลกากรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

แต่ปัจจุบันกลุ่มสินค้าดังกล่าวได้รับการลดภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการบริโภคซึ่งเก็บสูงถึง 70% ของเงินที่ต้องเสียภาษีภายใต้ระบบการค้าทั่วไป อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีการยกเว้นภาษีอีกต่อไปจากกฎหมายที่กำหนดขึ้นใหม่ ทว่าหากมีการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียว 2,000 หยวน และธุรกรรมรายปีต่ำกว่า 20,000 หยวน จะได้รับอัตราภาษีเป็น 0 แบบชั่วคราว

ในมุมกลับกันหากทางศุลกากรเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าที่ถูกนำเข้าผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนไม่ได้ ต้องมีการเสียภาษีในอัตราใหม่ คือ 15%, 30%, 60% ตามประเภทสินค้า และยังคงยกเว้นในกรณีที่สินค้าไม่ถึง 50 หยวน


สรุปสิ่งที่เกิดขึ้น

จากการปฏิรูประบบภาษีใหม่ทั้งกลุ่มสินค้าทัณฑ์บนและกลุ่มอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคชาวจีนจะต้องเสียเงินสำหรับการซื้อสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม โดยถูกเปลี่ยนเป็นเงินภาษีด้านต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบกับบรรดาธุรกิจจากต่างประเทศที่ต้องการขายสินค้าผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซไปยังประเทศจีน เพราะผู้บริโภคเมื่อเสียเงินเพิ่มขึ้นความต้องการย่อมลดลงเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากทางจีนเองต้องการขายสินค้าภายในประเทศให้มากขึ้นด้วย ดังนั้นธุรกิจที่มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นชาวจีนและต้องส่งออกผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซ จึงจำเป็นต้องปรับตัวและมองแนวทางการตลาดให้ชัดเจนว่าจะเลือกอย่างไรให้ยังคงซื้อ-ขายกันได้โดยไม่มีปัญหา

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page