top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

Tencent บทเรียนเมื่อครั้งบริษัทเกือบล้ม ก่อนจะผงาดครองจีน

Tencent หรือ บริษัทเท็นเซ็นต์ ยักษ์ใหญ่ของจีน กับบทเรียนเมื่อครั้งบริษัทเกือบล้มก่อนจะผงาด ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าควรค่าแก่การศึกษาครับ



ในปัจจุบัน ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า เท็นเซ็นต์ (Tencent) คือบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอันดับต้น ๆ ของจีน และได้รับการยกย่องให้เป็น หนึ่งในสามมังกร BAT (Baidu Alibaba Tencent) แต่ครั้งหนึ่งบริษัทเกือบจะล่มไปแล้ว หลังจากเดินเกมทางธุรกิจได้ประสบความสำเร็จเกินไป ทำให้มีลูกค้าเข้ามามหาศาล แล้วบริษัทไม่สามารถรับมือได้ทันการ




ซึ่งเรื่องราวที่เป็นบทเรียนจากการเติบโตของบริษัท Tencent ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของจีนในเวลานี้ที่เหนือกว่า Alibaba แต่ครั้งหนึ่งเกือบจะต้องเจ๊งไม่เป็นท่านั้น สาเหตุที่มีการวิเคราะห์กันถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับ Start Up และผู้ที่จะเริ่มทำธุรกิจโดยเริ่มจากการสร้างฐานลูกค้ามาก่อนนั่นเอง

เพราะกลายเป็นว่า Tencent มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ แต่กลับไม่สามารถระดุมทุนได้ และไม่สามารถทำยอดขายและกำไรจากลูกค้าได้เท่าที่ควร

แล้วทำไมเป็นเช่นนั้น มีการเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า หนึ่งในปัญหาของ Tencent เวลานั้นคือ ขาดแผนธุรกิจที่ชัดเจน เนื่องจากผู้ก่อตั้งบริษัทคือ นายหม่าฮั่วเถิ่ง (Ma Huateng) หรือ Pony Ma อัจฉริยะหนุ่มจากเมืองเซินเจิ้นในเวลานั้น มีพื้นเพเป็นโปรแกรมเมอร์และด้านนวัตกรรม แต่ไม่เขาได้เป็นนักธุรกิจที่มีความสามารถด้านการเงินหรือการวางแผนธุรกิจมาตั้งแต่แรก



หากย้อนไป บริษัทซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นผู้ให้บริการด้าน System Integration หรือการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยเน้นที่ลูกค้าองค์กร แน่นอนว่าเป็นบริษัทเล็กๆที่มีพนักงานไม่กี่คน แล้วจากนั้น Ma Huateng และพรรคพวกที่เริ่มตั้งบริษัท ก็เห็นโอกาสจากการเติบโตของโปรแกรมส่งข้อความ ICQ พวกเขาจึงนำแนวคิดนี้มาพัฒนาโปรแกรมที่ชื่อ Open ICQ หรือ OICQ ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่ต้นปี 1999 ซึ่งโดยรูปแบบก็เหมือนกับโปรแกรมส่งข้อความ MSN ในยุคก่อนที่เป็นการส่งข้อความและรูปภาพ


หลังจากเปิดให้บริการ ผลลัพธ์ก็คือ แอปพลิเคชั่นตัวนี้ประสบความสำเร็จมาก มีผู้เข้ามาสมัครใช้งานมากกว่า 1 ล้านคน ในเวลาไม่ถึงปี


แต่มันกลับกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง เพราะเวลานั้นทีมงานของ Ma Huateng ไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือการเติบโตและยอดลูกค้าจำนวนขนาดนั้น

แล้วยิ่งมีลูกค้าเข้ามามากขึ้น รายจ่ายก็กลับเพิ่มมากตามไปด้วย ทำให้ในเวลาผ่านไปไม่ถึงปี จากที่กิจการกำลังรุ่ง ก็กลายเป็นเงินหมุนเวียนไม่ทัน รายจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆแผนธุรกิจก็ไม่มี ครั้นจะระดมทุน ก็ทำไม่สำเร็จ จะขายกิจการก็ไม่มีใครเอาอีก

สำหรับทางรอดของ หม่าฮั่วเถิ่ง ในสมัยนั้นก็คือ ต้องหาแหล่งเงินสดเข้ามาช่วยพยุงกิจการ สุดท้ายเขาต้องยอมขายหุ้นเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทให้กับกลุ่มทุนจากแอฟริกาใต้ นั่นคือ Naspers ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีหุ้นใน Tencent อยู่นะครับ

ซึ่งหากมองย้อนไป พบว่าเรื่องนี้กลายเป็นบทเรียนสำคัญของบริษัทเลยว่า การที่มุ่งเน้นเรื่องขยายฐานลูกค้า แต่ไม่ได้รองรับบริการและผลิตภัณฑ์ไว้ดีพอ และไม่สามารถทำกำไรจากฐานลูกค้าที่ว่านั้นได้ กิจการก็ไปรอดยาก ซึ่งทุกวันนี้จะเห็นว่า Tencent มุ่งที่การพัฒนาบริการและนวัตกรรมของตนเองมาก จนบางครั้งล้ำไปมากชนิดที่ว่าหลายคนอาจสงสัยว่า จะมีผู้ใช้มากพอหรือไม่


สำหรับสถานการณ์การแข่งขันปัจจุบัน Tencent ก็กำลังขับเคี่ยวกับ Alibaba ของ แจ็คหม่า ผลัดกันสลับขึ้นเป็นบริษัทอันดับหนึ่งของจีน ตามแต่ไตรมาส โดยหนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดก็คือ WeChat



ขณะที่ตัวของ หม่าฮั่วเถิง ก็กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของจีน สูสีกับแจ็คหม่าเช่นกัน เรียกได้ว่า เมื่อเจออุปสรรคแล้วก็ต้องปรับแก้กันไปตามความเหมาะสมนั่นเองครับ



=========================================

ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ

“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่

หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ

“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่

ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่

ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page