top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

มือใหม่เริ่มส่งออกจีน ควรรู้อะไรบ้าง

ผู้ที่อยากไปลงทุนในจีน แต่ยังสงสัยว่า จะเริ่มต้นส่งออกอย่างไรดี มีคำแนะนำว่า ควรเข้าใจจีนยุคใหม่ก่อน เพราะทุกอย่างไม่เหมือนภาพเดิมจากที่หลายคนคิดไว้เมื่อ 10-20 ปีก่อน โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยเดินทางไปประเทศจีนเลยสักครั้ง


เพราะเวลานี้ จีนคือชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก และประเทศจีนพัฒนาไปมากในทุกด้าน และจะยังเป็นตลาดที่มีส่วนแบ่งใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันและอนาคตต่อจากนี้ไปอีกหลายสิบปี ทั้งในแง่ของสินค้าปริมาณและคุณภาพ

หากท่านจับขบวนไม่ทัน หรือเข้าใจตลาดจีนผิดพลาด อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ครับ มาลองดูกันว่า เรื่องที่ควรเข้าใจจีนยุคใหม่ก่อน มีอะไรบ้าง




เข้าใจจีน และสินค้า


ก่อนที่จะถามว่า จะขายอะไรดี เราต้องเข้าใจความเป็นจีนยุคใหม่เสียก่อน

เนื่องจากคนจีนยุคใหม่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่สูงขึ้น เรามีบทเรียนมากมายให้ย้อนกลับไปศึกษา เช่น Nokia ที่ต้องสิ้นชื่อจากการเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกเพราะความผิดพลาดในการลงทุนที่จีนมาแล้ว ข้อพึงระวังคือ แม้จีนจะพยายามล้างภาพของความเป็นเจ้าแห่งการ Copy ฉบับ “Mad in China” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนพร้อมจะกอบโกยความรู้และการผลิตสินค้าจากทั่วโลกเข้ามาที่ตนเองอยู่เสมอ




แล้วจะขายอะไรดี


บางทีท่านอาจคิดไม่ถึงว่าสินค้าบางชนิดที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเป็นสินค้าไทยๆบางชนิด จะทำยอดขายกับคนจีนได้ดีมาก โดยเฉพาะกับคนจีนชนชั้นกลาง และมีกำลังทรัพย์ค่อนข้างสูง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีลักษณะที่เป็น “เศรษฐีใหม่” หลังจากทำงานอย่างหนักในการสร้างตัวและสร้างรายได้ ก็พร้อมที่จะใช้จ่ายเงินเพื่อตอบสนองความต้อกงารขั้นพื้นฐาน เช่น บ้าน สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนจีนรุ่นก่อนในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมไม่มีโอกาสได้รับ

เพราะฉะนั้น สินค้าบางประเภทที่ท่านไม่คิดว่าจะขายได้ มันอาจจะขายได้ เช่นเดียวกัน สินค้าบางประเภทที่ขายดีในเมืองไทย ก็ไม่ได้แปลว่าจะเจาะตลาดจีนได้เช่นกัน นี่จึงเป็นข้อควรระวัง



ประเภทสินค้าของเรา


แล้วสินค้ากลุ่มไหน ที่น่าจะขายได้ อาจจะยึดสองคำนี้เป็นหลัก คือ “สินค้าที่แปลกใหม่ หรือต้องกินต้องใช้”

สินค้าแปลกใหม่ ก็ไม่ได้ต้องการความพิสดารมากนัก แต่อาจจะเป็นอะไรที่ใกล้ตัวและมีความเป็นท้องถิ่น ซึ่งกรณีของไทย อาจจะเป็นสินค้าที่เราคุ้นกันมานานแล้ว แต่มันแปลกสำหรับคนจีน หรือจับต้องได้ง่ายและเชื่อมโยงกับคนจีนได้ (เช่นกรณีของยาอมตราตะขาบ 5 ตัว หรือ นมอัดเม็ดสวนจิตรลดา) สินค้าประเภทนี้มีบางอย่างที่มีความต้องการสูงสำหรับคนจีน ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะคาดหวังเพียงให้ได้สัก 1% ของประชากรจีนกว่า 1,300 ล้านคน เท่านี้ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว

สินค้าต้องกินต้องใช้ ก็คือกลุ่ม ผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ใช้แล้วหมดไปแต่ละวันหรือแต่ละเดือน นอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงกลุ่มสินค้าหนัก เช่น คู้เย็น โทรทัศน์ ซึ่งเป็นของขายดีในบางเมืองของจีน ที่กำลังมีอัตรา GDP เติบโตขึ้นอย่างมาก



ช่องทางการสั่งสินค้า


ทุกวันนี้คนจีนเองแทบจะแยกจากกันไม่ออกกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ความสำเร็จอย่างหนึ่งของบริษัทยุคใหม่ในจีนคือการเชื่อมโยงสินค้าและบริการเข้ากับแพลทฟอร์มบนออนไลน์ และรองรับการใช้งานบนมือถือได้ ตัวอย่างเช่น WeChat Alipay เป็นต้น

สำหรับช่องทางการสั่งสินค้า เว็บอีคอมเมิร์ซยอดนิยม เช่น Taobao Tmall Aliexpress JD.com เป็นเว็บที่ถูกออกแบบมาเพื่อคนจีนในประเทศ สำหรับการสั่งสินค้า



ความสัมพันธ์ไทย-จีน


เนื่องจากที่ผ่านมา จีนกับไทยมีข้อตกลงเรื่องลดภาษีศุลกากร (Customs) ภายใต้กรอบ “เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน” ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ทำให้ปัจจุบันสินค้ามากกว่าร้อยละ 90 ที่ไทยและจีนค้าขายกันอยู่ ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีศุลกากร หากผู้นำเข้าและส่งออกขอใช้สิทธิ์นั้นตามขั้นตอน แต่ด้วยระบบการค้าของจีน ทำให้ต้องต้องชำระภาษีอีกร้อยละ 13 (สำหรับสินค้าไม่แปรรูป) และร้อยละ 17 (สำหรับสินค้าที่แปรรูป) ทีนี้จะส่งออกอะไรดี ลองดูประเภทสินค้าว่า ของเราอยู่ในกลุ่มไหน

  • สินค้าที่อนุญาตให้นำเข้าจีนได้โดยเสรี (Free Imports) สินค้าไทยส่วนมากที่เข้าไปขายในจีนอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น พวกสินค้าอุปโภคและบริโภคบางชนิด

  • สินค้าที่จำกัดการนำเข้า (Restricted Imports) ต้องขออนุญาตนำเข้าก่อน ส่วนมากเป็นผลผลิตด้านการเกษตร หรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนในฐานะผู้ผลิต เช่น ข้าว น้ำตาล ปุ๋ย ยางพารา ฯลฯ

  • สินค้าห้ามนำเข้า (Prohibited Imports) กลุ่มสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม เช่น อาวุธ ยาบางประเภท วัตถุระเบิด ฯลฯ


เมื่อทราบว่า สินค้าของเราหรือผลผลิตของเราอยู่ในกลุ่มไหน ก็จะได้วางแผนเตรียมการให้เหมาะสม ทั้งการขออนุญาตและอื่นๆด้วยครับ


Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page