อาลีบาบา ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเขตปลอดภาษี อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง??
ศูนย์กระจายสินค้าในเขตปลอดภาษีของ อาลีบาบา แล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง??? ผู้ประกอบการไทยต้องรับมือหรือปรับตัวอะไรบ้าง แรงงานไทยจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
ทางบอร์ดอีอีซี ประกาศหลักเกณฑ์สำหรับเขตปลอดภาษีอากร ภายในพื้นที่เขตส่งเสริมอี-คอมเมิร์ซ กรุยทางรับกลุ่มอาลีบาบา ของ แจ็กหม่า ทั้งนี้สามารถยืดชำระภาษีได้ภายใน 14 วัน โดยทาง WHA พร้อมส่งมอบพื้นที่สำหรับเฟสแรก เนื้อที่กว่า 1.3 แสนตร.ม. ได้ภายในเดือน ก.ย. ที่จะถึงนี้

สำหรับการตั้งศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าว อยู่บนเนื้อที่รวม 1.49 แสนตารางเมตร และแบ่งเป็นอาคารเขตปลอดภาษีอีกราว 4 หมื่นตารางเมตร และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ประกอบการวิจัยและพัฒนา และสำนักงานสำหรับกรมศุลกากรประมาณ 5,187 ตารางเมตร รวมพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1.94 แสนตารางเมตรหรือราว 120 ไร่ รองรับการลงทุนที่จะเกิดประมาณ 13,480 ล้านบาท
การเข้ามาลงทุนอย่างเป็นทางการของบริษัทอาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ของจีน ที่ก่อตั้งโดย แจ็กหม่า กำลังเป็นที่จับตามองของหลายประเทศ ซึ่งเวลานี้อาลีบาบายังเป็นผู้กระจายสินค้าที่เข้ามาเจาะในตลาดอาเซียนด้วย โดยประเทศไทยถูกมองว่าจะเป็นฮับสำหรับการกระจายสินค้า และศูนย์กลางของโลจิสติก ซึ่งมีทุกการขนส่งทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน และไปรษณีย์ไทย
แน่นอนว่าจากการตั้งศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าว หลายฝ่ายย่อมมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อศูนย์กระจายสินค้า Alibaba สร้างเสร็จแล้ว ได้แก่

อัตราการจ้างงานที่จะเพิ่มขึ้น
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะเมื่อมีการเข้ามาตั้งศูนย์กระจายสินค้าแล้ว หลายภาคส่วนก็มีความจำเป็นต้องการทรัพยากรบุคคลเพื่อดำเนินการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุมดูแลเครื่องจักร การบริหารจัดการ อีกทั้งในด้านการขนส่งสินค้าในปัจจุบันก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ นี่จึงเป็นโอกาสทำให้จะมีการจัดจ้างแรงงานมากกว่า 10,000 อัตรา ซึ่งเป็นส่วนที่อาลีบาบาจะขอให้รัฐบาลช่วยจัดสรรหาแรงงานให้
นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการค้นหางานเช่นกัน
สินค้าบางอย่างจะมีราคาถูกลง
โดยปกติ สินค้าหลายชนิดที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีนนั้นจะต้องเสียภาษีศุลกากร ก่อนที่จะมีการนำมาจำหน่ายภายในประเทศ ดังนั้นราคาสินค้าส่วนหนึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นจากการเสียภาษี รวมถึงค่าขนส่ง
แต่เมื่อมีการเข้ามาของศูนย์กระจายสินค้า Alibaba ในเขตปลอดภาษีนำเข้า จะส่งผลทำให้สินค้าที่เข้ามามีมูลค่าเท่ากับต้นทุนรวมกับค่าขนส่ง ซึ่งนั่นหมายความว่าสินค้าเหล่านั้นจะมีราคาที่ถูกลง
อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่องสงครามราคาบนอีคอมเมิร์ซก็เป็นประเด็นที่น่าห่วง และทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เป็นคนกลางพบความลำบากได้เหมือนกัน
การเข้ามาดำเนินการแบบเต็มตัวของ Alibaba
เวลานี้ คนส่วนใหญ่ก็ใช้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซและร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ กันมากขึ้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะบนร้านค้าบน Lazada Shopee JD Central
แต่ในส่วนของการนำเข้าสินค้าปลีก ผ่านทางเว็บอีคอมเมิร์ซของจีน ก็จะมีเพิ่มขึ้นแน่นอน เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่น่าจับตาสำหรับการนำเข้าสินค้า

ปัจจุบัน ในเขตพื้นที่พิเศษ EEC มีกฎหมายสนับสนุนนักลงทุนในการยกเว้นภาษาเงินได้นิติบุคคลสำหรับบางกิจกรรมนานสูงสุดถึง 13 ปี ถ้ามีคุณสมบัติและข้อมูลครบถ้วน แต่สิ่งที่ไม่เสียภาษีเมื่อมีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท ก็คือการส่งของผ่านช่องทางไปรษณีย์ ซึ่งเวลานี้ผู้ประกอบการแทบทุกคนก็ใช้งานกันอยู่แล้วในเชิงการค้าเชิงพาณิชย์ และหลายประเทศก็ได้เริ่มมีการเก็บภาษีตรงส่วนนี้แล้ว
ในส่วนของประเทศไทย การเก็บภาษียังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาอยู่ เพราะในปัจจุบันมีการส่งสินค้าต่อปีละมากกว่า 10 ล้านชิ้นขึ้นไป
=========================================
#คิดถึงการตลาดจีน#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#
ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ
“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่
หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ
“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่
ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่
ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ
Comments