top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

ธุรกิจไทยต้องมี! นักท่องเที่ยวจีนช้อปปิ้งผ่าน Alipay และ WeChat Pay สูงสุด


ธุรกิจไทยจำเป็นต้องมี WeChat และ Alipay เมื่อนักท่องเที่ยวจีนใช้เพื่อจ่ายเงินช้อปปิ้งผ่านแอปสูงสุด
แต่ก็น่าเสียดายเมื่อมีการสำรวจพบว่า ร้านค้าไทยส่วนใหญ่ที่ต้องการจับตลาดนักท่องเที่ยวจีนกลับยังเปิดใช้บริการไม่มากพอ จึงอาจทำให้เสียโอกาสได้

Alipay และ WeChat Pay คืออะไร

Alipay และ WeChat Pay เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาโดยเครือ Alibaba และ Tencent สองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซของจีน ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการใช้จ่ายเงินด้วยระบบกระเป๋าเงินออนไลน์ E-Payment แล้วเวลานี้ก็กำลังได้รับความนิยมในประเทศจีนและมียอดการใช้จ่ายสูงสุด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คนจีนนิยมใช้งานกันมาก ได้แก่

· แพลตฟอร์มใช้งานบนมือถือได้สะดวก

· เชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินออนไลน์ได้

· ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด

โดยรูปแบบการใช้งานทั่วไปนั้น เพียงแค่เปิดแอป แล้วสแกน QR Code ก็สามารถใช้ชำระเงินได้ในทันที โดยในเวลานี้ รูปแบบการชำระเงินออนไลน์ช่องทางนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับคนจีนทั้งในประเทศจีนเองและนักท่องเที่ยวจีนที่มาเยือนเมืองไทย ถ้าร้านค้าไหนมี QR Code ที่สามารถรับเงินจากแอปพลิเคชันทั้งสองตัวนี้ได้ ก็ย่อมเป็นตัวเลือกหลักในการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีน

จากที่กล่าวมา ถ้าร้านค้าไหนที่ต้องการจับกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าคนจีน จำเป็นต้องมีการรองรับระบบ Alipay และ WeChat Pay ถือว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งสำคัญที่จำเป็นต้องมี โดยเว็บไซต์บางกอกโพสต์ ได้รายงานสถิติการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนเวลานี้ ใช้จ่ายผ่านช่องทาง WeChat Pay และ Alipay เฉลี่ยที่ราว 6,000 บาทต่อคน (ไม่รวมใช้เงินสด) ต่อครั้งที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว


จีนกำลังเป็นสังคมไร้เงินสด

ในเวลานี้ จีนกำลังเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งการใช้จ่ายและทำธุรกรรมการเงินถูกพอร์ตมาบนแพลตฟอร์มทั้งสองที่กล่าวมา ด้วยการใช้ QR Payment ทำให้สำหรับคนจีนแล้ว มือถือกลายเป็นสิ่งติดตัวและใช้จ่ายเงินง่ายกว่าบัตรเครดิต เพียงแค่แสกนก็จ่ายได้เลย โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไกล มือถือจึงเป็นอะไรที่ต้องติดตัวอยู่เสมอ

ในปัจจุบันการใช้จ่ายผ่าน Mobile Payment จึงเป็นทางเลือกที่กำลังกลายเป็นกระแสที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะกับคนจีน ที่ใช้จ่ายผ่าน Alipay และ WeChat pay เป็นหลักอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากนิตยสารชั้นนำอย่าง Forbes ที่ระบุว่า จีนได้ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ประชนชนลดการใช้เงินสด แล้วหันมาใช้กระเป๋าเงินออนไลน์แทนมากที่สุดในโลก และมีมูลค่าในด้านนี้แซงหน้าสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลในปี 2017 จีนมีมูลค่าของ E-Payment สูงถึง 9,000,000 หยวนเลยทีเดียว


WeChat Pay และ Alipay ต้องใช้ถ้าจะบุกตลาดจีน

ทั้งสองแพลตฟอร์มมีความจำเป็นมาก ถ้าจะบุกตลาดจีน หรือต้องการจับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งร้านค้าปลีกทั้งหลายไม่ควรพลาด ซึ่งก็มีรายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนจากเว็บไซต์ China Internet Watch ว่า

  • Alipay มีคนจีนขึ้นทะเบียนใช้งานกว่า 700 ล้านคน

  • WeChat มีคนจีนขึ้นทะเบียนใช้งานกว่า 1,000 ล้านคน

ในปัจจุบัน มีร้านค้าปลีกรายย่อยมากกว่า 40 ล้านแห่งในประเทศจีนที่ให้บริการชำระเงินผ่านระบบสแกน QR Code ด้วย Alipay และ WeChat Pay


สามารถสมัครใช้บริการได้แล้วกับทาง SCB

เป็นโอกาสของคนไทยแล้ว เมื่อในเวลานี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายจากลูกค้าชาวจีน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายว่า จากสถิติการเปิดระบบรับชำระผ่าน Alipay และ WeChat pay ในไทยกลับพบว่าร้านค้ายังใช้ช่องทางการรับชำระเงินในช่องทางนี้จากนักท่องเที่ยวจีนน้อยมาก ทั้งที่เป็นช่องทางที่ง่ายที่สุดในการค้าขายกับคนจีน แก้ไขได้ทั้งปัญหาช่องทางการชำระเงิน การทอนเงิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ทาง SCB จึงได้จับมือกับ Alipay และ WeChat Pay เพื่อทำให้ร้านค้าสามารถทำ QR Code เพื่อมาใช้รับเงินจากลูกค้าชาวจีนได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น


สำหรับการสมัคร เพียงแค่สมัครเปิดใช้บริการที่ SCB ทุกสาขา โดยฟรีค่าเช่าเครื่อง และค่าธรรมเนียมราคาพิเศษเพียง 1.6 % พร้อมโอนเงินเข้าบัญชีได้ในวันถัดไป


หวังว่าผู้ประกอบการไทยทุกท่านจะได้ไม่เสียโอกาสกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้ามาในช่วงซีซั่นถัดไปครับ


=========================================

#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#

โดย อิทธิชัย อรรถกรรวีสุนทร

ผู้ก่อตั้งบริษัท Level Up Holding Co., เอเจ้นซี่การตลาดจีน

credit: Shutterstock.com

#มือถือ #Alipay #WechatPay #การท่องเที่ยว #นักท่องเที่ยวจีน #QRPayment #SCBSME

Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce

บทความแนะนำ

บริการของเรา

bottom of page