top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

สู่สังคมไร้เงินสด นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายผ่าน Alipay เพิ่มขึ้นทั่วโลก


มีการเปิดเผยข้อมูลและสถิติจากเครือ Alibaba ว่ายอดใช้จ่ายออนไลน์ผ่านระบบ E-Payment ด้วยแอพ Alipay มียอดที่พุ่งสูงขึ้นจากนักท่องเที่ยวจีนที่ออกไปหลายประเทศทั่วโลก

สำนักข่าว Chainadaily ได้รายงานเกี่ยวกับความสะพัดในเรื่องจับจ่ายเงินผ่าน Alipay ของนักท่องเที่ยวจีนในครั้งปีแรก 2018 ที่ผ่านมา โดยมีการเปิดสถิติว่า ใช้จ่ายในประเทศไหนมากที่สุด


ตามรายงาน มีการเปิดเผยว่าหัวเฉลี่ยในการใช้จ่ายทาง Alipay ของนักท่องเที่ยวจีนสูงสุดที่ประเทศรัสเซีย ตามมาด้วยแคนาดา และ มาเลเชีย อยู่ใน 3 อันดับแรก

ในขณะที่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และฟินด์แลนด์ มีจำนวนการจ่ายเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา

สำหรับผู้ใช้บริการส่วนใหญ่นั้น มีการเปิดข้อมูลว่า มาจากบริเวณเมืองเซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และกรุงปักกิ่งเป็นจำนวนมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจน

แล้วมีข้อมูลว่า การใช้ Alipay ในสิงคโปร์กว่าร้อยละ 70 เป็นเพื่อการเรียกบริการรถแท็กซี่ ตามด้วยร้านค้าในสนามบิน

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศในยุโรปไม่ได้มีการแข่งขันในด้าน Mobile Payment ที่เข้มข้นเท่าไรนัก แต่ก็มีการเปิดเผยว่า สนามบินในยุโรปกว่าร้อยละ 80 ได้เปิดให้บริการ Payment ขึ้นมาแล้ว

จากการเติบโตในด้านนี้ น่าจะส่งผลให้ภายใน 5 ปีที่จะถึงนี้ คนจีนจะได้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดไม่ได้เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น แต่อาจรวมถึงการเดินทางไปในต่างประเทศด้วย เพราะสามารถพกมือถือเครื่องเดียวแต่สามารถใช้จ่ายผ่าน Alipay กับร้านค้าหรือในบริการต่างๆที่จำเป็นในเมืองสำคัญๆได้นั่นเอง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

#คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand#

ต้องการตรวจความพร้อมก่อนบุกตลาดจีน สามารถอ่านบทความ

“ตรวจความพร้อมก่อนไปตลาดจีน” ได้ที่

หรือ อยากทราบภาพรวมของการตลาดออนไลน์จีนสามารถอ่านบทความ

“บุกตลาดจีนด้วยการตลาดออนไลน์จีน” ได้ที่

ต้องการคำปรึกษาหรือดูบริการแพ็คเกจบริการการตลาดจีนเริ่มต้นได้ที่

ทั้งนี้ถ้าต้องการให้เราเขียนเพิ่มเติมด้านไหนสามารถ Comment มาได้เลยนะครับ


Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer

China social media & online marketing

China ecommerce