top of page

ผลิตเพื่อขายในประเทศให้ได้ก่อนจะคิดโกอินเตอร์

ในทศวรรษ 80-90 ในหลายมณฑลของจีนมักมีคำกล่าวว่า “นายกเทศมนตรีรับผิดชอบเรื่องตะกร้าผัก ส่วนผู้ว่ามณฑลรับผิดชอบกระสอบข้าวสาร” คำกล่าวนี้หมายความว่า ต้องพึ่งตนเองให้ได้ในเรื่องของอาหารการกิน โดยเฉพาะระดับภูมิภาค ถ้าท้องถิ่นยังไม่สามารถผลิตหรือเก็บเกี่ยวขึ้นมากินเองได้ อย่าเพิ่งไปหวังค้าขายภายนอก แล้วที่สำคัญคือ ไม่ใช่แค่ผลิตให้กินเองได้ระดับหมู่บ้าน อำเภอ หรือจังหวัด แต่ต้องให้มีกินได้ทั้งมณฑล เพราะแต่ละมณฑลของจีนก็มีสภาพเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น มณฑลเหอหนานทางเหนือของจีน มีภูมิอากาศแห้งแล้ง เพาะปลูกยาก แต่ก็ยังมีทางออกคือ เหมาะกับการปลูกฝ้าย เมื่อมีมากพอจนเหอหนานเด่นในเรื่องฝ้าย ก็จึงนำไปแลกเปลี่ยนหรือค้าขายกับมณฑลอื่นๆที่เพาะปลูกธัญพืชได้ผลดี เช่นที่หูเป่ย อันฮุย เป็นต้น แนวคิดแบบนี้ก็ยังมีสืบทอดต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน แล้วไปสู่วงการอื่นๆด้วย ไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรเพียงอย่างเดียว กรณีของ Huawei Alibaba Baidu ทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดเจน มุ่งผลิต ขึ้นเป็นหนึ่งในมณฑล แล้วขยายขอบเขตการค้าออกไป เพราะแค่ยอดขายในประเทศจีนอย่างเดียว ก็ทำให้พวกเขากลายเป็นบริษัทอันดับต้นๆของโลกแล้ว แนวคิดแบบนี้มันผูกขาดหรือเปล่า เอาจริงๆก็ไม่ได้ต่างจากการทำธุรกิจสไตล์อเมริกัน เหตุใดลีก NFL อเมริกันฟุตบอล จึงเป็นลีกกีฬาที่มีมูลค่ามหาศาลอันดับต้นๆในโลก ทั้งๆที่เล่นและดูกันเองในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว แต่เพราะนั่นไม่ใช่แค่ประเทศเดียว แต่มันคือทุกรัฐ และเล่นกันแทบจะทุกมหาวิทยาลัยของอเมริกา เพียงแค่นี้ ก็ทำให้กีฬานี้ยืนหยัดได้อย่างสบายๆ จากนั้นจะขยายหรือสร้างความนิยมออกไปสู่โลกก็เป็นเรื่องของแผนการต่อยอดแล้ว สำหรับแนวคิดนี้ของจีน ก็ไม่ได้ใช้กันไปทุกมณฑลหรือตลอดเวลา แต่เมื่อใดที่เกิดภาวะทางเศรษฐกิจ หรือขาดแคลนสินค้า แนวคิดนี้จะกลับมาสู่ภาครัฐของจีนและบริษัทยักษ์ใหญ่อยู่เสมอ เป็นบทเรียนที่ภาครัฐและบริษัทต่างๆของไทยน่าจะได้ศึกษาไว้เช่นกันครับ ก่อนจะออกไปโกอินเตอร์ หรือจะบุกตลาดจีน คิดถึงการตลาดจีน คิดถึง Level Up Thailand

ผลิตเพื่อขายในประเทศให้ได้ก่อนจะคิดโกอินเตอร์
bottom of page