top of page

บทความ

ความรู้ ข่าวสาร ที่นักธุรกิจต้องรู้

ส่งตรงจากจีน

Tmall ยังครองแชมป์ เว็บอีคอมเมิร์ซจีน B2C

Tmall เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบ B2C ในเครือบริษัทอาลีบาบา ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งในประเทศจีน


ในรายงานของ Chinainternetwatch ระบุว่าหลังจากสิ้นปี 2018 การแข่งขันและช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดอีคอมเมิร์ซค้าปลีกของจีนยังคงเข้มข้น แต่สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซค้าปลีกแบบ B2C (Business-to-Consumer)


ซึ่งเว็บไซต์ Tmall ในเครือของอาลีบาบา ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดของจีนในปัจจุบัน และคาดว่าจะยังครองแชมป์ต่อไปในปี 2019



ตามรายงานระบุว่า ยอดรวมของธุรกิจ B2C แบบอีคอมเมิร์ซ หรือแบบออนไลน์ในจีน มีมูลค่าขึ้นไปแตะถึง 1.86 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากสิ้นไตรมาสที่ 3 ในปีนี้ ซึ่งเว็บ Tmall เป็นผู้นำตลาดที่ครองส่วนแบ่งมากกว่า 59.5% สำหรับอันดับสองเรียกว่าถูกทิ้งห่างโดย JD.com ที่ 25.8% และ Suning ตามติดตามที่อันดับสามคือ 6.4%


ซึ่งหากเปรียบเทียบมูลค่าทั้งหมดกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ถือว่าเพิ่มขึ้นกว่า 30% เลยทีเดียว


แล้วหากดูที่การเติบโตของสองอันดับแรก จะพบว่า

Tmall มีการเติบโตขึ้นที่ 31.4%

JD.com เติบโตขึ้นที่ 25.8%


ทั้งนี้หากรวมมูลค่าของทั้งสองเว็บ จะพบว่าครองส่วนแบ่งในตลาดมากถึง 85.3%


สำหรับอีคอมเมิร์ซแบบ B2C (Business-to-Consumer) ถือว่าเป็นรูปแบบทางธุรกิจประเภทหนึ่งที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ที่กำลังมาแรงมากทั่วโลกในเวลานี้ ซึ่งหมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป โดยผู้ค้าก็คือแบรนด์หรือบริษัทที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือมียี่ห้อของตนเอง ซึ่งกรณีนี้จะแตกต่างจากเว็บ Taobao ในเครือของอาลีบาบาด้วยกัน ที่จะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเปิดหน้าร้านของตนเองได้


ส่วนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ว่ามาแล้วได้รับความนิยมบนเว็บ Tmall สูงมาก อาทิ กลุ่มเสื้อผ้า เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์กลุ่มไลพ์ไสตล์และแฟชั่น สกินแคร์ ไปจนถึงกลุ่มอาหารแห้ง ผลไม้ ขนม และกลุ่มเครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Accessories เป็นต้น


เนื่องจากเว็บ Tmall เน้นการขายในประเทศจีน และภาษาจีนเป็นหลัก ผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและกลางจึงเจาะช่องทางนี้ได้ยาก เนื่องจากเป็นเว็บที่ต้องมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และรองรับสำหรับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงหรือติดตลาดแล้วในระดับหนึ่ง แต่สำหรับบริษัทและผู้ประกอบการไทยที่มีขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีแบรนด์เข้มแข็งในระดับหนึ่ง หรือเป็นผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับความนิยมในจีนอยู่แล้ว เช่น กลุ่มเครื่องสำอาง อาหารแห้ง ผลไม้ เสื้อผ้า ก็สามารถศึกษาช่องทางนี้ได้เช่นกัน


Comments


Basic Chinese Knowledge

Chinese Tourism

Kol influencer